เจาะชีวิตนักเรียนทุน Erasmus Mundus

มกราคม 19, 2010 by: ไม่ให้ใส่ความเห็น
Visit 5,982 views

2ทุนของสหภาพยุโรป เป็นหนึ่งในทุนการศึกษาที่ได้รับความสนใจในหมู่นักศึกษาไทยเป็นอย่างสูง

เพราะไม่เพียงแต่จะได้ทุนไปศึกษาต่อที่ในแหล่งการศึกษาชั้นนำของโลกอย่าง ยุโรป แต่ทุนดังกล่าวยังเป็นโอกาสอันดีที่จะไปเปิดโลกทัศน์ สัมผัสวิถีชิวิตและมุมมองใหม่ๆ พร้อมฝึกทักษะการปรับตัวในต่างแดน เพราะผู้ได้รับทุน Erasmus Mundus ต้องไปศึกษากับมหาวิทยาลัยในยุโรปที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวอย่างน้อย 3 มหาวิทยาลัยในระยะเวลา 1 ปี จึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวด

ทางทีมงานไทยยุโรป.เน็ตได้ขอ (แกมบังคับ) สัมภาษณ์คุณ ฉายดรุณ เอี่ยมภักดิ์ หนึ่งในนักศึกษาไทยคนเก่งที่ได้รับทุน Erasmus Mundus ให้มาเล่าประสบการณ์ชิวิตนักเรียนทุน ข้อคิดเห็นต่อระบบการศึกษาและวิธีการคิดของยุโรป พร้อมให้เคล็ดลับพิชิตทุน Erasmus Mundus และข้อแนะนำผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะเดินทาง ว่าต้อง “เตรียมตัว เตรียมใจ” ไปอย่างไร

1.ช่วยแนะนำตัวเองหน่อยคะ ตอนนี้อยู่ที่ไหนคะ และเรียนอะไรอยู่
ชื่อ “ฉายดรุณ เอี่ยมภักดิ์” ชื่อเล่น “จุ๋ม” ได้รับทุนErasmus Mundus มาเรียนต่อระดับปริญญาโทหลักสูตร Euroculture ตั้งแต่ปี 2549 ช่วงเทอมแรกเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Uppsala เมือง Uppsala ประเทศสวีเดน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 ถึงมกราคม 2550 ตอนนี้อยู่ระหว่างเรียนเทอมสองที่มหาวิทยาลัย Palacky เมือง Olomouc สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งจะหมดเทอมราวปลายเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ค่ะ 2. วิธีการเรียนในสวีเดนและเช็กเป็นอย่างไร มีอะไรน่าสนใจ
การ เรียนระดับปริญญาโทนในสวีเดน นักศึกษาไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนเพราะรัฐบาลมีนโยบายอุดหนุนการศึกษา คนสวีเดนจึงมีมาตรฐานการศึกษาสูงและเป็นคนมีคุณภาพ นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในสวีเดนก็ได้รับสิทธิประโยชน์นี้ด้วยเช่นกัน ส่วนที่ประเทศเช็ก รัฐบาลก็มีการอุดหนุนการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่เป็นการสนับสนุนเฉพาะนักศึกษาเช็กและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปให้เรียนฟรี เท่านั้น

วิธีการเรียนระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Uppsala ประเทศสวีเดนจะเป็นแบบ serial คือเรียนทีละวิชา ใช้เวลาประมาณวิชาละ 6-8 สัปดาห์ จากนั้นจะสอบวัดผล แล้วจึงเริ่มวิชาต่อไป ข้อดีของการเรียนแบบนี้ คือ ทำให้เรามุ่งเน้นกับวิชาใดวิชาหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนข้อเสีย คือ ชั่วโมงเรียนจะน้อยมากเพียง 3-5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทำให้เรามีเวลาว่างมากเกินไปจนอาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อ หน่ายและเกียจคร้าน แต่เราสามารถใช้เวลาเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมตามเมืองต่างๆ ไปเยี่ยมเยียนบ้านเพื่อนนักศึกษาชาวยุโรปที่มาจากประเทศต่างๆ หางานพิเศษทำซึ่งจะได้ทั้งประสบการณ์และเงินพอเป็นค่าขนมด้วย ใช้เวลาพบปะสังสรรค์กับเพื่อนนักศึกษาจากชาติต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่สมัครมาเรียนเองจากนอกภาคพื้นยุโรปด้วย ไปเยี่ยมเยียนและร่วมกิจกรรมกับคนไทยทั้งที่กำลังศึกษาร่วมมหาวิทยาลัยและ ที่ตั้งรกรากในเมืองที่ศึกษาอยู่ เป็นต้น

สิ่งที่น่าสนใจของการเรียนที่สวีเดนคือ การเรียนแบบ independent studies ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกเรียนสาขาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนโดยไม่จำเป็นต้อง เป็นคณะเดียวกัน เช่น เลือกเรียนกฎหมายกับดนตรีเป็นวิชาหลักควบคู่กันไป เป็นต้น และที่สำคัญคือการเรียนที่สวีเดนไม่มีคำว่าสอบตก เนื่องจากเมื่อผลการสอบออกมาแล้วคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ นักศึกษาสามารถขอสอบใหม่ได้จนกว่าจะผ่าน ซึ่งผลการสอบที่ผ่านเท่านั้นจะไปปรากฏใน transcript [ผู้สัมภาษณ์ -- ถือเป็นแนวการเรียนการสอนที่แตกต่างจากการ “สอบไล่และจัดลำดับคะแนน” ที่เรารู้จักกัน เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติที่ให้นิยามความความสำเร็จว่า คือการพยายามให้บรรลุความสามารถสูงสุดของตน มากกว่าจะตัดสินจากการแข่งขันกับผู้อื่น ซึ่งทัศนคติดังกล่าวช่วยเอื้อต่อทำงานแบบกลุ่ม เพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมของสังคมด้วย เพราะคนที่มีทัศนคติดังกล่าวจะพอใจที่ตนได้บรรลุศักยภาพของตน แทนที่จะพอใจจากการแข่งขันชนะผู้อื่น นับเป็นวิธีเรียนที่น่าสนใจมากเลยนะคะ]

ส่วนวิธีการเรียนที่มหาวิทยาลัย Palacky ประเทศเช็กจะเป็นแบบ parallel เหมือนที่เรียนกันในประเทศไทย คือ เรียนทีละหลายวิชาพร้อมกัน แล้วไปสอบเก็บคะแนนปลายภาคในเวลาใกล้เคียงกัน ภาคการศึกษาหนึ่งใช้เวลาประมาณ 14-15 สัปดาห์ ข้อดีของการเรียนแบบ parallel คือ ทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอเนื่องจากอาจารย์จะสั่งการบ้านพร้อมกันหลายวิชาและ กำหนดส่งในเวลาใกล้เคียงกัน เราจึงต้องจัดตารางการทำงานและวางแผนให้ดี ส่วนข้อเสีย คือ เราจะมีเวลาว่างน้อยเมื่อเทียบกับการเรียนแบบ serial โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัย Palacky ที่จุ๋มเรียนอยู่ อาจารย์จะมีการบ้านให้กลับไปทำเสมอ

สิ่งที่น่าสนใจของการเรียนที่เช็ก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์จะมีความเป็นกันเองมาก เมื่อเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็อาจจะไปปาร์ตี้กับลูกศิษย์ต่อ หรือเมื่อมีการจัด discussion class อาจารย์จะจัดให้ไปเรียนกันที่คาเฟ่หรือผับ ระหว่างที่มีการถกเถียงกัน ทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ก็ดื่มเบียร์ไปด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเองก็มีการจัดกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาต่างชาติเพื่อการเรียนรู้ วัฒนธรรมระหว่างกัน เช่น การจัดปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาต่างชาติ การจัดปาร์ตี้อาหารและเครื่องแต่งกายประจำชาติ เป็นต้น สำหรับการเรียนในชั้นเรียนนั้นนอกจากวิชาหลักที่ต้องเรียนแล้ว ยังมีวิชาที่น่าสนใจให้เลือกเรียนได้ตามความสามารถโดยไม่ต้องสอบ เพียงแต่ให้ทำรายงานแสดงความเข้าใจของเราต่อวิชานั้นๆ ก็พอ จุ๋มเองยังมีโอกาสเลือกลงวิชา Magic and Witchcraft in Early Modern Europe เลยค่ะ [ผู้สัมภาษณ์ --อุ้ย น่าสนใจ ฟังดูเหมือน Harry Potter เลยค่ะ อืม แต่การเรียนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมยุโรปคงไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ได้เรียนเรื่องเวทย์มนตร์หรือแม่มดพ่อมด เพราะเรื่องดังกล่าวก็เป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมยุโรปด้วย]

ความคล้ายคลึงกันของการเรียนทั้งสองประเทศโดย ประเมินจากหลักสูตร Euroculture ที่จุ๋มเรียนอยู่ซึ่งเป็นทางด้านสังคมศาสตร์ อาจารย์จะเน้นการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน โดยจะกำหนดให้ไปอ่านบทความและทำความเข้าใจกับเนื้อหาล่วงหน้าเพื่อนำมาถก เถียงกันในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นานๆครั้งอาจารย์จะบรรยายภาพรวมของเนื้อหาคร่าวๆ แล้วให้เราไปศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งต่างกับการเรียนที่เมืองไทยซึ่งอาจารย์จะเน้นการบรรยายเป็นหลัก

3. ช่วยให้ความเห็นว่าคนสวีเดนและคนเช็กมีลักษณะนิสัยหรือวิธีคิดที่น่าสนใจอย่างไร
คน สวีดิชมองจากภายนอกจะดูเป็นคนเก็บตัว (reserved) และมีความเป็นส่วนตัวสูงมาก (individualistic) เนื่องมากจากภาพอากาศที่หนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและวัฒนธรรมที่ไม่ค่อย สุงสิงกับใคร เมื่อเจอกันชาวสวีดิชจะทักทายว่า “Hej!” แต่ก็จะไม่ถามต่อว่าสบายดีหรือเปล่า เพียงทักกันหนึ่งคำแล้วก็เดินจากไป ในช่วงแรกจุ๋มก็ไม่ค่อยกล้าที่จะคุยด้วยมากนัก แต่พอได้รู้จักกันมากขึ้นแล้วชาวสวีดิชเป็นคนที่น่ารัก จริงใจ ตรงต่อเวลา รักธรรมชาติ และเคารพสิทธิส่วนบุคคล ที่น่าประหลาดใจคือความขี้อายของคนสวีดิชซึ่งทำให้ชาวต่างชาติที่อยากจะมี เพื่อนสวีดิชจะต้องเป็นฝ่ายรุกก่อนเสมอไป

ขณะที่คนเช็กภายนอกจะดูเป็นคนเย็นชาและเคร่ง เครียดเนื่องจากไม่นิยมแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากสมัยที่เช็กอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็ดูจะเป็นมิต


About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น