สกว.มอบทุนวิจัยจำนวนมาก

มกราคม 13, 2010 by: 0
Visit 2,401 views

070709035702_J0148985สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)มอบทุนให้กับนักศึกษาไทย เพื่อสนับสนุนการวิจัยหลายประเภท สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้กำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัยในปี พ.ศ. 2535 โดยมีภารกิจหลักคือ สนับสนุนกระบวนการสร้างความรู้ สร้างนักวิจัย และสร้างระบบวิจัย เพื่อตอบคำถามและเสนอทางเลือกให้สังคม ซึ่งครอบคลุมทั้งในระบบเศรษฐกิจภาคดั้งเดิมและสมัยใหม่ โดยใช้จุดเด่นด้านการบริหารงานวิจัย เพื่อยกระดับความสามารถของประเทศด้านการวิจัย ขณะนี้กำลังเปิดให้ทุนวิจัยหลายประเภทดังต่อไปนี้

ทุนวิจัยเชิงวิชาการ
ลักษณะทุน
เน้น การสร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพ สูง รับผิดชอบโดยฝ่ายวิชาการ มีเป้าหมายในการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและ ผลิตผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวิจัยขอบเขตงาน
การให้ทุนของฝ่ายวิชาการแบ่งออกเป็น 8 ประเภท คือ
1. ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)
เป็น ทุนสร้างทีมวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีความสามารถ มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้สร้าง นักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ โดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ผู้รับทุนต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับคณบดีขึ้นไป โดยผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อเมธีวิจัยอาวุโส สกว.” (TRF Senior Research Scholar)
ผู้ได้รับทุนจะได้เงินงบประมาณรวมไม่เกิน 7.5 ล้านบาท (2.5 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 6 ล้านบาท (2 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี
ทุน ประเภทนี้ไม่ได้เปิดให้สมัคร แต่ใช้วิธีการสรรหาและเสนอชื่อ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาจากรายชื่อในกลุ่มต่างๆ เช่น รายนามศาสตราจารย์ในประเทศไทย รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รายนามนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รายนามผู้ได้รางวัลวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยต่างๆ รายนามนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอรายชื่อ และ รายนามคณาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ หลังจากนั้นจะเรียนเชิญนักวิจัยผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับเต็ม เพื่อ สกว. จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนต่อไป
2. ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.)
เป็นทุนวิจัยระดับกลางสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยพอสมควร ทุนนี้เปิดรับสมัครปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ และ กรกฎาคมกันยายน ผู้อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ทำในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author และมีผลรวมของ impact factor อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งนี้ขึ้นกับสาขาวิชา เช่น มีค่าไม่น้อยกว่า 5.0 สำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ไม่น้อยกว่า 2.0 สำหรับวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะไม่นำเกณฑ์ของ impact factor มาพิจารณา ผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อวุฒิเมธีวิจัย สกว.” (TRF Advanced Research Scholar)
ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่มีวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท ระยะเวลาของทุนไม่เกิน 3 ปี โดยเป็นค่าตอบแทนของหัวหน้าโครงการเดือนละ 15,000-25,000 บาท ตามคุณภาพและประสบการณ์ของผู้ขอรับทุน

3. ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.)
เป็น ทุนที่ช่วยสร้างนักวิจัยให้เข้มแข็งแก่สถาบัน และจูงใจให้มหาวิทยาลัยลงทุนส่งเสริมการวิจัยมากขึ้น เปิดรับสมัครปีละครั้ง ระหว่างเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่เป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding auther ไม่น้อยกว่า 1 เรื่องใน 5 ปี ที่ผ่านมาโดยไม่ใช่ผลงานจากวิทยานิพนธ์ และเป็นผลงานที่ทำในประเทศไทย มีการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดีเด่น และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป ผู้ได้รับทุนได้ชื่อว่าเป็นเมธีวิจัย สกว. (TRF Research Scholar)”
ทุนพัฒนานักวิจัยให้ทุนปีละ 400,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยแบ่งเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการวิจัยปีละ 220,000 บาท และเป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 15,000 บาท ผู้ที่ได้รับทุนนี้อาจได้รับการสนับสนุนจากสถาบันต้นสังกัดของนักวิจัยอีก จำนวนหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้ว นักวิจัยที่มีคุณภาพสามารถสมัครทุนประเภทนี้หรือทุนประเภทอื่นได้อีก
4. ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่
เป็น ทุนที่เปิดรับสมัครปีละครั้ง ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับทุน คือ ผู้ที่มีประวัติการศึกษาและการทำงานอยู่ในเกณฑ์ดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทุกสาขารวมทั้งผู้ที่สำเร็จปริญญาแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ มาแล้วไม่เกิน 5 ปี อายุไม่เกิน 45 ปี และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป โดยผู้สมัครต้องมีนักวิจัยพี่เลี้ยง (mentor) ที่ มีประสบการณ์และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาที่ใกล้เคียงกับผู้สมัคร และมีเวลาให้คำปรึกษาได้ตลอดระยะเวลาการรับทุน และผู้สมัครต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะพิจารณาจากคุณภาพผลงานที่มีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี เป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 10,000 บาท
5. ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)
เป็นทุนที่ สกว. ได้ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อสนับสนุนอาจารย์รุ่นใหม่ให้ทำ วิจัยได้อย่างต่อเนื่อง เปิดรับสมัครปีละครั้ง ผู้อยู่ในข่ายรับทุนคืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทุกสาขา มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป
ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี เป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 10,000 บาท
6. ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก
เป็น ทุนที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกให้ได้ทำวิจัย อย่างต่อเนื่องและเต็มเวลา เปิดให้นักวิจัยที่ปรึกษาที่มีศักยภาพสมัครรับทุนได้ในเดือนตุลาคม-เดือน ธันวาคม โดยมีเกณฑ์คือนักวิจัยที่ปรึกษาต้องเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ทำงานในหน่วยงานใน ประเทศไทย ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ มีกลุ่มวิจัย และได้รับทุนวิจัยอื่นอยู่แล้ว นักวิจัยที่ปรึกษาจะคัดเลือกผู้ช่วยวิจัย ซึ่งมีคุณสมบัติคือจบปริญญาเอก ไม่เกิน 5 ปี อายุไม่เกิน 45 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติย้อนหลัง 5 ปี อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยเสนอชื่อมาให้ สกว. พิจารณา
ผู้ช่วยวิจัยต้องทำงานเต็มเวลาในห้องปฏิบัติการวิจัยของนักวิจัยที่ปรึกษา และจะได้รับเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆเป็นความรับผิดชอบของนักวิจัยที่ปรึกษา หากผู้ช่วยวิจัยได้รับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว จะได้รับเงินเดือนเฉพาะส่วนต่างที่ได้ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนที่ สกว. ให้

7. ทุนวิจัยหลังปริญญาเอกในต่างประเทศ (สกว. ร่วมกับ National Research Council ประเทศคานาดา)
ผู้มีสิทธิ์สมัครคือผู้มีสัญชาติไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาที่จะไปทำวิจัยในศูนย์วิจัยของ NRC ไม่เกิน 5 ปี ถ้าทำงานแล้วจะต้องได้รับอนุมัติให้ลงไปทำวิจัยหลังปริญญาเอกได้อย่างน้อย 1 ปี โดยทุนวิจัยประเภทนี้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
7.1 ทุน Visiting Fellowships ของ สภาวิจัยแห่งชาติของแคนาดา (The National Research Council of Canada, NRC)
ทุนนี้ให้ปีละ 5 ทุน สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศไทยซึ่งจะต้องไปแข่งขัน กับผู้สมัครจากประเทศอื่นอีกครั้ง ทุนนี้จะให้ค่าเครื่องบินและค่ากินอยู่ที่แคนาดาเดือนละ 3126.66 เหรียญแคนาดาเพื่อไปทำการวิจัย ณ สถาบันวิจัยของ NRC เป็นระยะเวลา 1 ปี และอาจต่อทุนได้อีก โดยถ้าให้ต่อทุนปีที่ 2 สกว. จะจ่ายค่าเดินทางกลับมาดูงานในประเทศไทย 2 สัปดาห์
ผู้ขอรับทุนสามารถ download ใบสมัครได้จาก http://www.nserc.ca และส่งใบสมัครโดยตรงได้ด้วยตนเอง
7.2 ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Fellowships) ของ สกว. – NRC
เป็นทุนร่วมระหว่าง NRC และ สกว. มีทุนวิจัยปีละ 5 ทุน ระยะเวลา 1 ปี โดยฝ่ายไทยจะออกค่าเครื่องบินและค่ากินอยู่เดือนละ 825 เหรียญแคนาดา โดย NRC จะให้เพิ่มอีกเดือนละ 1708.67 เหรียญแคนาดา (ฝ่ายไทยอาจเป็น สกว. หรือองค์กรที่ได้ประโยชน์จากการวิจัยหลังปริญญาเอก)
ผู้สนใจสามารถสมัครโดย download ใบสมัครได้จาก http://rgj.trf.or.th/thai/rgj51.htm พร้อมแนบผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติและผลงานวิชาการอื่นๆ ส่งให้กับ สกว. ทุนนี้เปิดรับปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกภายในเดือนมกราคม และครั้งที่สองภายในเดือนกรกฎาคม
8. ทุนวิจัยพื้นฐานแบบกำหนดทิศทาง (Directed Basic Research Grant)
เป็น โครงการที่เน้นงานวิจัยที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยมีทิศทางที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในระยะกลางหรือระยะยาวได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันฝ่ายวิชาการได้ให้การสนับสนุน โครงการวิจัยเคมีทางยา” (Medicinal Chemistry) ขึ้น เป็นโครงการแรก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดเป้าหมายของการวิจัยด้านเคมีทางยาและ กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของนักวิจัยที่ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง กับเคมีทางยานำไปสู่การทำงานเป็นทีมและมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน โดยในระยะแรกแนวทางการวิจัยจะเน้นสนับสนุนใน 3 เรื่องดังต่อไปนี้
1. การสังเคราะห์สารและสารที่หมดสิทธิบัตร
2. งานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
3. งานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของยาตามความถนัดและความสนใจของนักวิจัย

ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ลักษณะทุน
เน้น การวิจัยที่สามารถตอบปัญหา สร้างรูปแบบเสนอทางเลือกหรือชี้นำการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นได้เป็นลำดับ แรก ระยะเวลาดำเนินการ ไม่เกิน 2 ปี ใช้งบประมาณ ไม่เกิน 300,000 บาท
เงื่อนไขของงานวิจัย
มีคำถามวิจัยชัดเจนคือ มีข้อสงสัยที่ต้องการหาคำตอบ ซึ่งเป็นข้อสงสัยที่เกิดจากชุมชนเอง มีคนในชุมชนเข้ามาร่วมทำงานในโครงการวิจัยและเป็นส่วนสำคัญของทีมงาน เนื้องานวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
) การ ศึกษาให้รู้สภาพที่เป็นอยู่ โดยการวิเคราะห์ให้ทราบสาเหตุ ปัจจัย เงื่อนไข โครงสร้างและต้นทุนความรู้ และประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องนั้นให้เห็นเด่นชัด เพื่อเป็นฐานสำหรับการทำงานในช่วงที่สอง
) การทดลองปฏิบัติการ (action) เพื่อหาวิธีการไปสู่สภาพที่ดีขึ้น โดยทดสอบทางเลือกที่เห็นว่าดีที่สุด และวิเคราะห์สรุปกระบวนการและผลที่เกิดขึ้น
ทุนวิจัยนวัตกรรมสถาบัน สกว.
เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ด้านการบริหารจัดการงานวิจัยของสถาบัน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนภูมิภาค มีความเข้มแข็งในเชิงระบบการบริหารงานวิจัย
2) เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารงานวิจัยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ เกี่ยวข้องกับการคิดค้น พัฒนา ประยุกต์ใช้ ศาสตร์และศิลป์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยภายใต้บริบทของสถาบันนั้น ๆ ในด้านต่าง ๆ เช่นการพัฒนาชุดโครงการ การพัฒนาข้อเสนอโครงการ การติดตามและการประเมินผลโครงการ การผลักดันผลงานสู่การใช้ประโยชน์ การกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการทำงานวิจัยของนักวิจัย ฯลฯ มีการสรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ และโดยอาศัยความมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วน
ข้อ ตกลงเบื้องต้นผลงานที่ได้จากการวิจัย ต้องถูกนำไปประยุกต์ใช้ในสถาบันของตนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพด้านการบริหารงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ต้องนำเสนอผลการวิจัย ในการประชุมวิชาการประจำปี ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และเครือข่ายพันธมิตรที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งคราว
Outcome หลัก
1) ความเข้มแข็งของระบบบริหารงานวิจัยในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2) เครือข่ายบริหารงานวิจัยที่มีคุณภาพ
คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ
1. ผู้บริหารระดับสำนัก สถาบัน หรือหน่วยงานที่ดูแลการวิจัยของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
2. ผู้ บริหารที่ดูแลงานวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่นรองอธิการบดีด้านการวิจัย รองคณบดีด้านการวิจัย หรือชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น
3. ผู้บริหารเครือข่ายวิจัยต่าง ๆ เช่น เครือข่ายวิจัยของ สกอ. เป็นต้น


ข้อตกลงเบื้องต้น
1) ผลงานที่ได้จากการวิจัย ต้องถูกนำไปประยุกต์ใช้ในสถาบันของตนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพด้านการบริหารงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
2) ต้องนำเสนอผลการวิจัย ในการประชุมวิชาการประจำปี ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และเครือข่ายพันธมิตรที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งคราว
Outcome หลัก
1) ความเข้มแข็งของระบบบริหารงานวิจัยในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2) เครือข่ายบริหารงานวิจัยที่มีคุณภาพ
คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ
1. ผู้บริหารระดับสำนัก สถาบัน หรือหน่วยงานที่ดูแลการวิจัยของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
2. ผู้ บริหารที่ดูแลงานวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่นรองอธิการบดีด้านการวิจัย รองคณบดีด้านการวิจัย หรือชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น
3. ผู้บริหารเครือข่ายวิจัยต่าง ๆ เช่น เครือข่ายวิจัยของ สกอ. เป็นต้น
งบประมาณสนับสนุนโครงการ
งบประมาณสนับสนุนโครงการละไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
กำหนดเวลา
ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงรับสมัครโครงการ และพิจารณาผลการเสนอโครงการในช่วงเดือนมีนาคม
ติดต่อสอบถาม ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979 .พหลโยธิน สามเสนใน

พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 0-2298-0455 ต่อ 184 โทรสาร 0-2298-0476 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.trf.or.th

About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น