เคล็ดลับพิชิตทุนจุฬาฯ-ชนบท

มกราคม 15, 2010 by: 0
Visit 13,528 views

070725021134_13โครงการจุฬาฯ-ชนบท เป็นโครงการรับนักเรียนยากจนในชนบท ที่เรียนดีและประพฤติดีให้มีโอกาสเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนอุดหนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปกติ

โครงการจุฬาฯ-ชนบท เป็นโครงการรับนักเรียนยากจนในชนบท ที่เรียนดีและประพฤติดีให้มีโอกาสเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ได้รับทุนอุดหนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปกติ เพื่อกระจายโอกาสให้เยาวชนที่ด้อยโอกาสในชนบทได้เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และกระตุ้นให้โรงเรียนในชนบทได้ตื่นตัวและมีกำลังใจในการเรียนการสอน  และเพื่อกระจายผู้มีความรู้ความสามารถระดับอุดมศึกษาไปยังท้องถิ่นในชนบท

ทุนจุฬาฯ-ชนบท แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทุนประเภท . และ ทุนประเภท . ที่ เตรียมเปิดรับสมัครในรุ่นต่อไปประมาณเดือนกันยายน ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้สมัครทั่วประเทศ จึงได้เปิดใจผู้ที่ดูแลและน้อง ๆ ที่ผ่านด่านเข้ารับทุนในปี 2550 ที่ผ่านมา ดังนี้

น.ส.จารุวรรณ นามพรหม นักวิชาการประจำหน่วยจุฬาฯ-ชนบท ผู้ช่วยไขข้อข้องใจให้กับทุกคนที่ต้องการทราบถึงการเข้ารับทุนจุฬาฯ-ชนบท และยังเป็นหนึ่งในทีมงานตระเวนตรวจเยี่ยมบ้านของผู้สมัครมาทุกปี กล่าวเปิดเผยว่า

“ช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ทางจุฬาฯ-ชนบท จะมีการเปิดรับสมัคร โดยนักเรียนสามารถศึกษาข้อมูลการสมัครได้ที่ เว็บไซต์ http://www.rural.chula.ac.th เรา จะมีประกาศและคำแนะนำในการรับสมัครครอบคลุมทั้งหมด สำหรับผู้ที่จะได้รับพิจารณาในหน่วยจุฬา-ชนบทนั้น จะดูว่าอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของเราและฐานะทางครอบครัว รวมถึงผลการเรียน ถ้าคะแนนอยู่ในขั้นที่กำหนดไว้ทางเราก็ให้สิทธ์นั้น ที่จริงแล้วเราไม่ต้องการเด็กที่เรียนเก่งมาก คืออยากได้คนที่มีคุณธรรม ความรับผิดชอบในตัวเอง เป็นคนที่ตั้งใจ ทำงานจริงจัง แล้วอย่าคิดว่าตนเองเป็นปมด้อย สิ่งที่อยากจะฝากน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษา ให้ตั้งใจเรียนหาตัวเองให้เจอ ถามตัวเองก่อนว่าชอบแบบไหนแล้วก็ตั้งใจทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ถ้ามาเรียนสิ่งที่ไม่ชอบแล้วก็จะมีความทุกข์ก็อาจเรียนไม่จบ ผู้ปกครองก็ไม่ควรบังคับหรือคาดหวังว่าลูกเราต้องเป็นแบบนี้อย่างที่หวังมาก เกินไป”

เปิดใจผู้รับทุนจุฬาฯ-ชนบท

ส้ม กมลกานต์ เจริญสุข

ทุนประเภท ก. ปี 1 นิเทศศาสตร์

น้องส้ม จบจากโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา ฉะเชิงเทรา ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.88 เธอเล่าถึง ก้าวแรกสู่ทุนจุฬา-ชนบทว่า ถ้าเราเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการพิจารณาจากหน่วยจุฬา-ชนบท จะส่งบัตรประจำตัวผู้สมัครมาให้ ขั้นตอนต่อไปคือการพิจารณาจากผลคะแนนการสอบแอดมิชชั่นส์ตามค่าน้ำหนักของคณะ ที่เราได้เลือกไว้ สำหรับเธอแล้วจุฬาฯ-ชนบท ถือเป็นโครงการที่ขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนผู้ขาดโอกาสในชนบท นับว่าเป็นการกระจายความรู้เพื่อพัฒนาชนบทอย่างแท้จริง

ชาญ นายชาญ ชาวนา

ทุนประเภท ก. ปี 1 รัฐศาสตร์

ชาญ เป็นหนุ่มบุรีรัมย์ จบชั้น ม.6 จากโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม ด้วยเกรด 3.87 เขาเล่าว่าได้รู้จักโครงการจุฬา-ชนบท ครั้งแรกเมื่อขึ้น ม.6 ซึ่งทางงานแนะแนวของโรงเรียนได้ประกาศรับสมัคร เกณฑ์ของผู้สมัคร มีผลการเรียนดี ประพฤติดี และฐานะยากจน ผมเลือกคณะรัฐศาสตร์ (การปกครอง) เพราะว่าชอบการเมืองการปกครอง อยากนำความรู้ความสามารถเมื่อจบการศึกษา กลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างพอเพียง

มด รัฐทยา แก้วจันทร์

ทุนประเภท ก. ปี 2 สหเวชศาสตร์

มด จบมาจากโรงเรียนกำแพง จ.ศรีสะเกษ ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.83 เธอกล่าวถึงความเป็นอยู่ของนิสิตทุนว่า การปรับตัวทางด้านการเรียนของเราเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเราอาจไม่เก่งเทียบเท่ากับเพื่อน ๆ ในคณะที่ผ่านการแอดมิชชั่นส์ ที่ต้องแข่งขันกับนักเรียนทั่วประเทศ ซึ่งหมายถึงเราต้องมีความขยันมาก ๆ และต้องใส่ใจกับการเรียนเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ด้านการเรียนเท่านั้น แต่เราก็มีกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วม

แตง นิภา จันทรคาต

ทุนประเภท ก. ปี 2 เศรษฐศาสตร์

แตง จบจากโรงเรียนนางรอง จ.บุรีรัมย์ ด้วยเกรด 3.43 เธอ มีความรู้สึกว่าโชคดีมากในชีวิต เพราะการคัดเลือกไม่ใช่แค่คนสองคน แต่คัดทั่วประเทศ แตงภูมิใจมาก เพราะอย่างน้อยก็ได้ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง แตงมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในหน่วยจุฬา-ชนบท ไม่ว่าจะเป็นการออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท เมื่อต้นปีนี้ก็เดินทางไป จ.ตาก ทุกคนที่อยู่ในหน่วยจุฬา-ชนบท จะรู้จักและสนิทสนมสามัคคีกัน ไม่ว่ามีกิจกรรมอะไรก็จะช่วยเหลือกันเสมอ

นายปณต  ชไมบุปผา

ทุนประเภท ก. ปี 2 สหเวชศาสตร์

ปณต เป็นคนจันทบุรี  จบจากเบญจมราชูทิศ ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.73 เขาเล่าว่า 1 ปีที่ผ่านมาในรั้วจุฬา ได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานกีฬา Freshy , Supervisor จาก ชมรมพุทธศาสตร์สากล, งานกีฬาสหเวช-เทคนิคการแพทย์สัมพันธ์, กีฬาฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์, กีฬา 6 หมอ, ค่ายผู้นำเยวชน จ.ชัยภูมิและค่ายอาสาพัฒนาจุฬา-ชนบท ซึ่งแต่ละกิจกรรมล้วนทำให้สมกับที่เป็นนิสิตจุฬา ที่ว่า “เกียรติภูมิจุฬา คือเกียรติของการรับใช้ประชาชน”

นายอานนท์   โนนทะภา

ทุนประเภท ก. ปี 2 วิทยาศาสตร์การกีฬา

อานนท์ เรียนจบมาจากน้ำพองศึกษา จ.ขอนแก่น ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.25 โดย เขาพูดถึงการใช้ชีวิตในรั้วจามจุรีหนึ่งปีที่ผ่านมา ว่า ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องก้าวใหม่ เข้าร่วมห้องเชียร์หอพัก ห้องเชียร์คณะตลอดทุกวันเข้าอบรมหอพักทุกครั้ง เข้าทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมงานของหน่วยประจำเป็นประเพณี การเข้าร่วมงานครบรอบ 25 ปี จุฬา-ชนบท และการเข้าค่ายของหน่วยจุฬา-ชนบท ซึ่งเป็นค่ายที่ใหญ่ที่สุดในจุฬา

อิ๋ว ดวงเดือน  สอดศรี

ทุนประเภท ก. ปี 2 รัฐศาสตร์

อิ๋ว จบจากเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลฯ ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.58 อิ๋ว เล่าว่า 1 ปีที่ผ่านมากับบทบาทของนิสิตจุฬา-ชนบท ที่ถูกจับตามองจากคนทั้งมหาวิทยาลัยแม้บางครั้งจะรู้สึกกลัว แต่เด็กจุฬา-ชนบทก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ไม่ว่าจะด้านการเรียน ที่มีรุ่นพี่หลายคนจบการศึกษาด้วยคะแนนที่สูง และด้านกิจกรรมที่ล้วนสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นโครงการค่ายอาสาพัฒนาจุฬา-ชนบท และอื่น ๆ

นายเทียนชัย    ปริยายสุทธิ์

ทุนประเภท ข. ปี 1 วิศวกรรมศาสตร์

เฟรชชี่หนุ่มจบมาจากแกลงวิทยสถาวร เมืองระยอง ด้วยเกรด 3.91  เทียน กล่าวว่าได้รับข่าวเรื่องการสมัครขอรับทุนโครงการจุฬา-ชนบท จากเว็บไซต์แล้วจึงเข้าไปอ่านรายละเอียดและตั้งใจสมัครในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพราะเป็นคณะที่อยากเรียน เมื่อส่งใบสมัครไปแล้วก็รอติดตามผล พอถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 ก็มีโทรศัพท์จากหน่วยงานจุฬา-ชนบท บอกว่าติดโครงการจุฬา-ชนบท ก็รู้สึกดีใจมากที่ติดโครงการนี้

ทั้ง หมดนั้นเป็นข้อมูลเพื่อเตรียมตัวสำหรับน้อง ๆ นักเรียนชั้น ม.6 ทั่วประเทศ ที่ตั้งใจสอบตรงเข้า จุฬาฯ และมีคุณสมบัติพร้อมที่จะขอรับทุน ก็สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยจุฬาฯ-ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 2 ชั้น 2 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร.0-2218-3245 หรือ www.rural.chula.ac.th

นายทัศนัย ไชยยงยศ หัวหน้าสำนักงานฯ

ที่ตั้งสำนักงานโครงการจุฬาฯ-ชนบท

ผลงานกิจกรรมของรุ่นพี่ ๆ จุฬาฯ-ชนบท


About Auther : bowing  (420 Posts)


Share this Story

You Might Also be Interested In:

Comments are closed.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น