มองการศึกษาและทุนเรียนAEC ตอน“พม่า”

ตุลาคม 3, 2012 by: 0
Visit 1,429 views

เรื่องของประเทศนี้ เริ่มต้นเรียกชื่อประเทศก็สร้างความสับสนกันพอสมควร ว่าจะเรียก“เมียนม่าร์”ชื่อใหม่ที่รัฐบาลของเขาเพิ่งเปลี่ยนมาใช้ไม่นานนัก หรือ“พม่า”ที่ใช้มายาวนานถึงจะถูก

งานนี้ราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการบัญญัติศัพท์ ก็เรียกชื่อเต็มว่า สหภาพพม่า พร้อมทั้งออกหนังสือเวียนไปยังสื่อมวลชนทั้งหลายว่าไม่ต้องเปลี่ยนไปเรียก “เมียนม่าร์” ขอให้คงเรียก “พม่า” หรือ “สหภาพพม่า” ตามเดิมด้วยเหตุผลว่าประเทศไทย คนไทย ตลอดจนบันทึกประวัติศาสตร์และพงศาวดารไทยใช้คำว่า “พม่า” มานานแล้ว ไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องเปลี่ยนไปตามกฎหมายพม่า

สรุปว่า ประชาชนพลเมืองไทยก็เรียกเอาตามสะดวก ส่วนหากเป็นทางการหน่อยก็น่าจะพยายามปฏิบัติตามแนวทางของราชบัณฑิตย์ฯไว้จะได้เป็นแบบอย่างทางภาษาที่ถูกต้องตามบริบทไทย

ในเรื่องการศึกษาของพม่า ก็คงไม่ต่างจากด้านอื่น ๆ ของประเทศเท่าใดนัก เพราะยังคงไม่ได้รับการพัฒนามานาน เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นมูลเหตุมาจากระบบการปกครอง และการเมือง แม้ว่าประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก แต่ระบบต่าง ๆ ก็ไม่ได้รับการพัฒนา ประชาชนมมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีนัก และมีรายได้เฉลี่ย หรือค่าจ้างแรงงานต่ำเพียง 2.5 เหรียญสหรัฐต่อวัน

อย่างไรก็ตามยุคใหม่แห่งการปฎิรูปการเมืองของพม่ากำลังได้รับการจับตาจากทั่วโลก รัฐบาลพม่าเริ่มมีนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยเฉพาะการให้อิสระภาพแก่นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า  โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานางซูจีได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อสนทนากับผู้นำในการประชุม “World Economic Forum” ว่า สหภาพพม่า กำลังเข้าสู่การปฏิรูปประเทศ ผ่านแผนการปรองดองภายในประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการปฏิรูปนั้น ไม่ต้องการให้ผลประโยชน์ตกอยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ องค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ต้องทำเพื่อประชาชนทุกคนในพม่า โดยสิ่งแรกที่จำเป็นคือ การเร่งปรับปรุงการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน
            สำหรับระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของพม่านั้น กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ  ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2  ดังนี้

• ประถมศึกษา  5  ปี (อนุบาล  1  ปี และประถม  4  ปี)

• มัธยมศึกษาตอนต้น  4  ปี

• มัธยมศึกษาตอนปลาย  2  ปี

และอาชีวศึกษา  1- 3 ปี  อุดมศึกษา 4 -6 ปี

กรมการศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียนโดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของพม่านั้นพม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่บ้าน กรมการเทคโนโลยีกษตรและอาชีวศึกษา  เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมพณิชยกรรม  วิศวกรรมเครื่องกล  การประมง  คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิการเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง

ในระดับอุดมศีกษา มีกรมอุดมศึกษาทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยใน 3 เมืองสำคัญคือมหาวิทยาลัย  Yangon  Mandalay และ Manlamyine  นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาในการศึกษา 4-6 ปี  ตามลักษณะวิชาอีกด้วย

ปัจจุบัน พม่ามีมหาวิทยาลัยอยู่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (University of Yangon) และ สถาบันเศรษฐศาสตร์ย่างกุ้ง (Yangon Institute of Economics) ซึ่งทั้งคู่อยู่ในกรุงย่างกุ้ง…


About Auther : กูรู สมเกียรติ เทียนทอง  (855 Posts)


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

คำค้น