China "panic" school ban Internet fraud agent.

November 8, 2012 by: 0
Visit 1,495 views

กระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกกฎข้อบังคับใหม่เพื่อเข้มงวดกับเอเจนท์รับนักเรียนอินเตอร์ที่มีบริการกลาดเกลื่อนในประเทศ เพื่อมุ่งแบนหน่วยงานข้ามชาติเหล่านี้ที่ดำเนินงานรับสมัครนักศึกษาจีนไปเรียนต่อต่างประเทศแบบไม่บริสุทธิ์ ทั้งฉ้อฉล หลอกหลวง มุ่งกอบโกยแต่เงินทอง

จากการเผยแผ่ล่าสุดเกี่ยวกับร่างกฎระเบียบใหม่ที่รัฐบาลจีนออกมานั้นจะทำให้หน่วยงานดูแลเรื่องการศึกษาในแต่ละมณฑลมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการอนุมัติ หรือปฎิเสธเอเจนท์สื่อกลางทางการศึกษา ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการรับสมัครนักศึกษาจีนเข้าศึกษาโปรแกรมอินเตอร์ หรือไปศึกษาต่อต่างประเทศ รวมทั้งจะมีการคุมเข้มเรื่องการจัดกิจกรรมศึกษาต่อ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม หน่วยงานการศึกษาจีนยังมีอำนาจในการแบนตัวแทนเหล่านี้ในการดำเนินกิจการในประเทศจีนด้วย หากพบว่า ฝ่าฝืนหรือทำผิดกฎระเบียบที่ทางการวางไว้
          รายละเอียดของร่างกฎระเบียบใหม่ครั้งนี้ ได้ถูกลงในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาฯจีนมาก่อนหน้านี้จนถึงวันที่ 5 Nov 2012. เพื่อเป็นการแจ้งและทำความเข้าใจกับเอเจนท์ต่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงสำนักงานศึกษาต่อที่เป็นตัวแทนจากต่างประเทศ สถาบันการศึกษาอินเตอร์ที่ลงทุนโดยคนต่างชาติ รวมถึงสถาบันการศึกษาที่ร่วมทุนระหว่างจีนกับต่างชาติ เพื่อให้ทราบว่าทางการจีนไม่ต้องการให้ดำเนินการรับสมัครนักศึกษา โดยผ่านเอเจนท์ตัวกลางที่มุ่งรับนักเรียนจีนเข้าเรียนระดับไอสคูล  เรียนภาษาต่างประเทศ หรือ เรียนระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยเฉพาะเอเจนท์ที่ดำเนินการไม่ถูกต้อง
การดำเนินการครั้งนี้ของรัฐบาลจีน ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพื่อให้การรับนักเรียนอินเตอร์เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมภายใต้กฎระเบียบที่กำหนดอย่างแท้จริง
สำนักข่าวซินหัวของจีน อ้างถ้อยแถลงของกระทรวงศึกษาฯว่า เอเจนท์ที่ไม่มีมาตรฐานดำเนินการเรื่องการรับนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศแบบหลอกลวง ปลอมแปลงเอกสาร เพียงเพื่อให้ได้จำนวนนักเรียนและตัวเงินเป็นสำคัญโดยขาดความรับผิดชอบ

การกำหนดกฎระเบียบที่จริงจังครั้งนี้ของจีน เป็นผลมาจากการตื่นตัวจากรายงานในแง่ลบมากมาย ทั้งจากสื่อของชาติตะวันตก และบล็อกต่าง ๆ ของจีน ที่ออกมาเปิดโปงถึงการมุ่งรับสมัครนักศึกษาจีนของมหาวิทยาลัยต่างประเทศแบบแข่งขันกันดุเดือด มีการแอบอ้างเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและวุฒิการศึกษาที่ไม่จริง เพื่อเป้าประสงค์ในการกอบโกยค่าเล่าเรียน ตัวอย่างเช่น ที่ออสเตรเลีย ในรายงานเรื่อง Australia’s Knight Review of the Student Visa Programme เมื่อเดือนมี.ค.2011 เป็นการเปิดโปง และโจมตีเอเจนท์ที่ไร้ยางอายมุ่งแต่หาผลประโยชน์จากนักเรียนต่างชาติ ด้วยการทำหลักฐานปลอมทางด้านคุณสมบัติของนักเรียน เพื่อให้สามารถเข้าเรียนในคอร์สที่กำหนดได้
อีกรายงานสำนักข่าวซินหัว ได้มาจากนิวซีแลนด์ เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของแดนกีวีพบว่า มีแบบฟอร์มการสมัครเข้าศึกษาต่อของนักเรียนจากจีน มากถึง 279 ชุดที่เป็นของปลอม ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานอันฉ้อฉลของเอเจนท์สื่อกลางนั่นเอง
ที่อเมริกาเอง เจ้าหน้าที่สหรัฐก็เคยตำหนิการกระทำของเอเจนท์ศึกษาต่อในการหลอกหลวงทำนองเดียวกันโดยอาศัยช่องว่างของกฎระเบียบของทางการ ในประเด็นเกี่ยวกับวีซ่า จนเป็นเรื่องที่เรียกกันว่า‘visa mills’หรือที่มาของวีซ่าที่ไม่ถูกต้อง และมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกรณีอื้อฉาวนี้ เช่น Tri Valley and the University of Northern Virginia Etc.
จากการที่จีนเป็น 1 ในชาติที่มีเศรษฐกิจเจริญเติบโตเร็วที่สุดในโลก รวมทั้งยอดนักเรียนที่มมีจำนวนมหาศาล ทำให้ปัจจุบันธุรกิจเอเจนท์การศึกษาเติบโตมากเช่นกัน มีกว่า 400 เอเจนท์ที่ได้รับใบอนุญาติจากทางการ แต่ก็มีอีกมากเช่นกันที่ดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาติ
สถิติของกระทรวงศึกษาจีน จำนวนยอดคนจีนที่ไปเรียนอินเตอร์เพิ่มขึ้นทุกปี ในอัตราประมาณ 20% In the past year. 2005 มีนักเรียนจีนโกอินเตอร์ 118,500 คน มาถึงปี 2011 เพิ่มเป็น 339,700 และคาดว่าปีนี้ ตัวเลขจะไปอยู่ที่ประมาณ 400,000 People
         แหล่งข่าว : Yojana Sharma,01 November 2012


About Auther : Google honors the gold candle.  (855 Posts)


Share this Story

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Translation

Englishภาษาไทย

Search for.